ไม้ผลในเมืองกับการควบคุมระบบราก
นิทรรศการงานเกษตรแห่งชาติ ประจำปี 2544
จัดทำโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวี เสรฐภักดี
ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2 – 10 กุมภาพันธ์ 2544
ไม้ผลในเมืองกับการควบคุมระบบราก
ผศ.ดร.รวี เสรฐภักดี
การ
เติบโตของเขตชุมชนในเขตเมืองทำให้พื้นที่อยู่อาศัยของบ้านเรือนประชาชนมี
ขนาดที่เล็กลง อันเป็นผลจากราคาที่ดินที่สูงมาก ในขณะเดียวกัน
ความต้องการต้นไม้เพื่อใช้เป็นอาหารของตาและความผ่อนคลายทางด้านจิตใจก็ยัง
คงมีอยู่ในเกือบทุกบุคคล
จากสภาพการณ์ที่พื้นที่ถูกจำกัดจนมีขนาดเล็กลงอย่างมากนี้
ทำให้การปลูกไม้ผลซึ่งโดยปกติมักมีพุ่มต้นค่อนข้างใหญ่
จึงทำให้ยากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้
หากได้มีการปรับรูปแบบของการปลูกและดูแลรักษาให้เหมาะสมแล้วก็ย่อมที่จะมี
ต้นไม้ที่สวยงามได้เช่นกัน โดยมีหลักการสำคัญๆ ที่ควรต้องคำนึงถึง ดังนี้
1. ภาชนะ
อาจใช้กระถางขนาดกลางถึงใหญ่ เช่น ขนาด 20 นิ้ว (50 ซม.)
หรือใช้ห่วงซีเมนต์ขนาด 80, 100 หรือ 120 ซม.
สิ่งซึ่งควรคำนึงถึงการใช้ภาชนะเหล่านี้คือ
ช่องทางระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพสูง
2. วัสดุปลูกชนิด
ของวัสดุปลูกอาจผสมเองขึ้นมาโดยอาศัยวัตถุดิบที่มีอยู่อย่างมากมายในประเทศ
ไทยและมีราคาถูก เช่น ขุยมะพร้าว (coconut coir) ถ่านแกลบ
(มีสีดำซึ่งต่างจากขี้เถ้าแกลบที่มีสีขาวปนเทา) (charred husk ) แกลบดิบ
(rice husk ) และทราย (sand) นอกจากนี้อาจใช้วัสดุอื่น เช่น พีทมอส (peat
moss) เพอร์ไลท์ (perlite) หรือเวอร์มิคิวไลท์ (vermiculite) ก็ได้
อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงถึงราคาของวัสดุแต่ละชนิดด้วย ในทางปฏิบัติแล้ว
หากมีความยุ่งยากก็อาจใช้ดินผสมสำเร็จรูปก็ได้
แต่ต้องระมัดระวังเกี่ยวกับคุณภาพของวัสดุที่นำมาใช้ผสมด้วย
3. สัดส่วนของวัสดุ
คุณสมบัติของความสามารถในการอุ้มน้ำของวัสดุแต่ละชนิดย่อมแตกต่างกันออกไป
ดังนั้น การใช้สัดส่วนของวัสดุปลูกชนิดต่างๆ
กันก็ย่อมมีผลต่อการอุ้มน้ำและการระบายน้ำของวัสดุโดยตรงซึ่งย่อมส่งผลต่อ
การเจริญเติบโตของระบบรากอย่างแน่นอน
สัดส่วนที่มีขุยมะพร้าวและถ่านแกลบสูงจะมีการอุ้มน้ำที่ดีขึ้น
ความถี่ของการให้น้ำจึงสามารถเว้นช่วงได้ยาวนานมากขึ้นซึ่งเหมาะสมต่อช่วง
ฤดูแล้ง ในทางกลับกัน
หากวัสดุสามารถอุ้มน้ำได้สูงและมีฝนตกชุกต่อเนื่องหรือมีการให้น้ำมากจนเกิน
ควร ก็อาจเกิดภาวะน้ำขัง (waterlogging) ของระบบรากได้ รากขาดออกซิเจน
มีอาการใบเหลือง ร่วงหล่น ผลหลุดร่วง ต้น ทรุดโทรมและตายได้ในที่สุด
หากสัดส่วนของวัสดุมีทรายในปริมาณที่สูงขึ้น การระบายน้ำก็จะดียิ่งขึ้น
มีโอกาสชักนำให้เกิดการออกดอกได้ง่ายขึ้น
ในขณะที่ความถี่ของการให้น้ำก็จำเป็นต้องเพิ่มให้มากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน
4. การจัดวางระบบน้ำ
เนื่องจากการปลูกไม้ผลเหล่านี้ กระทำกันในชุมชนที่มีพื้นที่จำกัด
บ้านเรือนส่วนใหญ่มีระบบน้ำประปาทุกครัวเรือน
การให้น้ำกับพืชที่ปลูกจำเป็นต้องมีความต่อเนื่อง
มิฉะนั้นแล้วต้นไม้อาจชะงักการเจริญเติบโตได้ ผลอาจแคระแกรนและหลุดร่วงได้
การให้น้ำนี้นับเป็นความน่าเบื่อหน่ายของหลายท่าน
แต่เป็นสิ่งจำเป็นต้องกระทำ
เมื่อเป็นดังนั้นแล้วจึงควรที่จะจัดวางระบบการให้น้ำที่ช่วยบรรเทาในสิ่ง
เหล่านี้ได้
ซึ่งอาศัยแรงดันจากก๊อกน้ำภายในบ้านและจัดวางโดยอาจใช้หัวชนิดพ่นฝอย
(mini-sprinkler) หรือหัวผีเสื้อ หรือหัวน้ำหยด (drip nozzle)
ก็จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้
5. ชนิดของไม้ผลที่ต้องการปลูก
เนื่องจากสภาพของพื้นที่ที่จำกัด จึงควรหลีกเลี่ยงไม้ผลขนาดใหญ่ที่
ควบคุมทรงพุ่มได้ยาก เช่น ทุเรียน มังคุด ขนุน และกระท้อน เป็นต้น
ชนิดของไม้ผลที่ปลูกได้ดีในภาชนะและพื้นที่ที่จำกัด ได้แก่ ฝรั่ง
น้อยหน่า มะม่วง ชมพู่ ทับทิม มะนาว ส้มจี๊ด บาร์บาโดสเชอรี่ (acerola)
ละมุด ลำไย มะเฟือง มะกรูด เป็นต้น
6. การควบคุมทรงพุ่ม
จากสภาพของพื้นที่ที่จำกัดดังกล่าว
การควบคุมขนาดของต้นไม้จึงจำเป็นต้องเตรียมการไว้แต่เริ่มแรก
โดยกำหนดขนาดของพุ่มต้นที่ต้องการไว้ เช่น 3.5 เมตร 4 เมตรหรือ 5 เมตร
การปลูกในภาชนะที่มีปริมาตรจำกัด
ก็เป็นทางหนึ่งของการควบคุมระบบรากไปในตัวด้วย
ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมทรงพุ่มด้วยเช่นกัน ทั้งนี้
เพราะในส่วนของระบบรากและส่วนยอดนั้นมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
(root-shoot interrelationship)
ในทางกลับกันการควบคุมทรงพุ่มก็ส่งผลต่อการควบคุมปริมาณรากด้วยเช่นกัน
ดังนั้น จึงควรกระทำการจัดโครงสร้างของกิ่ง (training) โดยการโน้มกิ่งลง
หรือการตัดแต่ง (pruning)
เพื่อควบคุมปริมาณของกิ่งและลดการเจริญของกิ่งที่จะเจริญขึ้นในแนวดิ่ง
(โดยวิธีการตัดยอดเพื่อกระตุ้นให้แตกตาข้าง) ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่ง
ในการควบคุมทรงพุ่มให้ได้ตามขอบเขตของขนาดที่ได้วางเป้าหมายไว้
7. สภาพแวดล้อม
ต้นไม้สร้างอาหารจากกระบวนการสังเคราะห์แสงเท่านั้น
ดังนั้นหากปลูกในพื้นที่ที่มีร่มเงามากมีการบดบังแสงจากอาคารเป็นส่วนใหญ่
แล้ว ย่อมส่งผลให้ต้นไม้เติบโตช้าลง ต้นอาจยืดยาวไม่แข็งแรง
โอกาสที่จะออกดอกและติดผลย่อมลดลงตามไปด้วย
ความ
สุขอื่นใด
จะมาเปรียบเทียมเท่ากับการได้เก็บเกี่ยวผลไม้ผลแรกที่ปลูกด้วยมือตนเอง
แม้ราคาจะเพียงน้อยนิด แต่คุณค่าทางจิตยากที่จะประมาณการได้
ขอกราบ
ขอบพระคุณ ท่าน รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี
ที่กรุณาอนุญาตให้นำผลงานเขียนของท่านมาเผยแพร่เพื่อให้เป็นประโยชน์กับ
เกษตรกรและผู้ที่สนใจครับ
*หมายเหตุ* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เป็นตำแหน่งในขณะนั้นครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น