วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เกษตรกรรม



เกษตรกรรม  (อังกฤษ: Agriculture)
                เป็นการเพาะปลูกพืช เห็ดรา เลี้ยงสัตว์ ตลอดจนอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิงชีวภาพ ยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์อื่นซึ่งใช้บำรุงและปรับปรุงชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรมเป็นพัฒนาการสำคัญในความเจริญของอารยธรรมมนุษย์ที่อยู่กับที่ ซึ่งการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์สปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่องทำให้มีอาหารส่วน เกินซึ่งช่วยพัฒนาการของอารยธรรม การศึกษาเกษตรกรรม เรียก เกษตรศาสตร์ ประวัติศาสตร์เกษตรกรรมย้อนไปหลายพันปี และภูมิอากาศ วัฒนธรรมและเทคโนโลยีที่ต่างกันมากขับเคลื่อนและนิยามพัฒนาการของเกษตรกรรม ทว่า เกษตรกรรมทั้งหมดโดยทั่วไปพึ่งพาเทคนิคการขยายและบำรุงที่ดินที่เหมาะสมต่อ การเลี้ยงสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่อง สำหรับพืช เทคนิคนี้มักอาศัยชลประทานบางรูปแบบ แม้จะมีวิธีการเกษตรกรรมในเขตแห้งแล้งอยู่ ก็ตาม การเลี้ยงปศุสัตว์เป็นการเลี้ยงในระบบทุ่งหญ้าและไม่เป็นเจ้าของที่ดินรวม กัน ครอบคลุมพื้นที่เกือบหนึ่งในสามของส่วนที่ปราศจากน้ำแข็งและน้ำของโลก ในโลกพัฒนาแล้ว กษตรอุตสาหกรรมที่ยึดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ได้กลายเป็นระบบเกษตรกรรม สมัยใหม่ที่พบมากที่สุด แต่มีแรงสนับสนุนเกษตรกรรมยั่งยืน รวมถึงเกษตรถาวรและเกษตรกรรมอินทรีย์มากขึ้น

ประเภทของเกษตรกรรม

เกษตรกรรมแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
  1. กสิกรรม หมายถึง การเพาะปลูกพืช เช่น การทำนา การทำสวน การทำไร่ เป็นต้น
  2. ปศุสัตว์ หมายถึง การประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์บนบก เช่น เลี้ยงวัว เลี้ยงหมู หรือเลี้ยงสัตว์จำพวกสัตว์ปีก เป็นต้น
  3. การประมง หมายถึง การประกอบอาชีพการเกษตรทางน้ำ เช่น การเลี้ยงสัตว์น้ำ การจับสัตว์น้ำ เป็นต้น
  4. การป่าไม้ หมายถึง การประกอบอาชีพเกี่ยวกับป่า เช่น การปลูกป่าไม้เศรษฐกิจ การนำผลผลิตจากป่ามาแปรรูปให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น

ประวัติศาสตร์ของเกษตรกรรม

จุดเริ่มต้นในสมัยโบราณ

             การทำเกษตรกรรมอย่างเป็นระบบปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ในดินแดนแถบ Fertile Crescent โดยเฉพาะในบริเวณที่เป็นประเทศซีเรียและตอนใต้ของอิรักในปัจจุบัน เมื่อช่วงประมาณ 9,500 ปีก่อนคริสตกาล คนในสมัยนั้นเริ่มมีการคัดเลือกพืชอาหารที่มีลักษณะตามความต้องการเพื่อนำไปเพาะปลูก
ประมาณ 7,000 ปีก่อนคริสตกาล ระบบเกษตรกรรมขนาดเล็กได้แพร่เข้าไปสู่อียิปต์ ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็เริ่มมีการเพาะปลูกข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ในอนุทวีปอินเดีย ซึ่งปรากฏหลักฐานในการขุดค้นแหล่งโบราณคดี Mehrgarh ในภูมิภาค Balochistan จนถึงเมื่อ 6,000 ปีก่อนคริสตกาล ในอียิปต์เริ่มมีการทำเกษตรกรรมขนาดกลางบนริมฝั่งแม่น้ำไนล์ และในช่วงเวลานี้ในภูมิภาคตะวันออกไกลก็มีการพัฒนาทางเกษตรกรรมในรูปแบบเฉพาะตน โดยจะเน้นเพาะปลูกข้าวเจ้าเป็นพืชผลหลักมากกว่าข้าวสาลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น