วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เกษตรกรรมในประเทศไทย



เกษตรกรรมในประเทศไทย
       มีลักษณะแข่งขันสูง หลากหลายและเจนจัด การส่งออกของไทยประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในระดับนานาชาติ ข้าวเจ้าเป็นพืชผลสำคัญที่สุดของประเทศ ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ไปยังตลาดข้าวโลก โภคภัณฑ์การเกษตรอื่นมีทั้งปลาและผลิตภัณฑ์ปลา มันสำปะหลัง ยาง ธัญพืชและน้ำตาล การส่งออกอาหารแปรรูปทางอุตสาหกรรม เช่น ทูน่ากระป๋อง สับปะรด และกุ้งแช่แข็งกำลังมีเพิ่มขึ้น

ประวัติศาสตร์

เกษตรกรรมในประเทศไทยอาจสืบย้อนไปได้ผ่านแง่ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสังคม ซึ่งได้ก่อให้เกิดการเข้าถึงเกษตรกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยสมัยใหม่ หลังการปฏิวัติยุคหินใหม่ สังคมในพื้นที่ได้วิวัฒนาจากการล่าสัตว์และหาของป่า ผ่านระยะนครเกษตร ไปเป็นจักรวรรดิรัฐศาสนา การอพยพเข้ามาของคนไทยนำไปสู่การเข้าถึงเกษตรกรรมแบบยั่งยืนอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับการประกอบกิจเกษตรกรรมอื่นส่วนมากของโลก
นับตั้งแต่ พ.ศ. 1543 วัฒนธรรมการผลิตข้าวเหนียวของ ชาวไทเป็นตัวกำหนดโครงสร้างการบริหารในสังคมที่เน้นการปฏิบัติซึ่งผลิตส่วน เกินที่สามารถจำหน่ายได้ จวบจนถึงปัจจุบัน ระบบดังกล่าวได้รวมเป็นหนึ่งกับความมั่นคงของชาติและความอยู่ดีกินดีทาง เศรษฐกิจ อิทธิพลของชาวจีนและชาวยุโรปก่อให้เกิดธุรกิจการเกษตรและเริ่มต้นความต้อง การที่ทำให้เกิดการขยายตัวของเกษตรกรรมผ่านการเพิ่มจำนวนของประชากรจน กระทั่งดินแดนที่เข้าถึงได้ขยายออก
พัฒนาการล่าสุดในทางเกษตรกรรม หมายความว่า นับแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 การว่างงานได้ลดลงจากกว่า 60% เหลือต่ำกว่า 10% ในต้นคริสต์ทศวรรษ 2000[1] ในสมัยเดียวกัน ราคาอาหารลดลงครึ่งหนึ่ง ความหิวโหยลดลง (จาก 2.55 ล้านครัวเรือนใน พ.ศ. 2531 เหลือ 418,000 ครัวเรือนใน พ.ศ. 2550)[1] และทุพภิกขภัยเด็กลดลงอย่างมาก (จาก 17% ใน พ.ศ. 2530 เหลือ 7% ใน พ.ศ. 2549)[1] ซึ่งสามารถบรรลุได้
(ก) ผ่านการผสมระหว่างบทบาทอันเข้มแข็งและเชิงบวกของรัฐในการประกันการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษาและการเข้าถึงเครดิต และ
(ข) การริเริ่มภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จในภาคธุรกิจเกษตร
เหล่านี้ได้สนับสนุนให้ไทยเปลี่ยนผ่านเป็นเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมได้สำเร็จ

เกษตรกรรมช่วงเปลี่ยนผ่าน

              เกษตรกรรมสามารถขยายตัวได้ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 เมื่อสามารถเข้าถึงที่ดินใหม่และแรงงานว่างงาน[1] ระหว่าง พ.ศ. 2505 ถึง 2526 ภาคการเกษตรโตขึ้นเฉลี่ย 4.1% ต่อปี และ พ.ศ. 2523 ภาคเกษตรมีถึง 70% ของประชากรทำงาน[1] กระนั้น รัฐยังรับรู้ถึงพัฒนาการในภาคเกษตรว่าจำเป็นต่อการกลายเป็นอุตสาหกรรม (industrialization) และการส่งออกถูกเก็บภาษีเพื่อรักษาราคาภายในประเทศให้ต่ำและเพิ่มรายได้แก่ การลงทุนของรัฐในเศรษฐกิจภาคอื่น[1] เมื่อมีการพัฒนาในภาคอื่น แรงงานจึงออกไปแสวงหางานในเศรษฐกิจภาคอื่น และการเกษตรถูกบีบให้ใช้คนน้อยลงและเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น[1] โดยได้รับความสะดวกจากกฎหมายของรัฐซึ่งบังคับให้ธนาคารออกเครดิตราคาถูกให้ แก่ภาคเกษตร และได้รับเครดิตของตนผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร[1] รัฐยังลงทุนในการศึกษา ชลประทานและถนนชนบทต่อไป[1] ผลคือ การเกษตรเริ่มเติบโตที่ 2.2% ระหว่าง พ.ศ. 2526 และ 2550 แต่ยังเป็นว่าเกษตรกรรมปัจจุบันให้งานคนชนบทเพียงครึ่งหนึ่ง เพราะเกษตรกรกำลังใช้ประโยชน์จากการลงทุนเพื่อให้มีความหลากหลาย[1]
                  แม้เกษตรกรรมมีความสำคัญในทางการเงินสัมพัทธ์ถดถอยลงในแง่ของรายได้เทียบ กับการที่ประเทศไทยกลายเป็นอุตสาหกรรมและแผลงเป็นอเมริกัน (Americanization) นับจากคริสต์ทศวรรษ 1960 แต่เกษตรกรรมยังให้ประโยชน์ด้านการจ้างงานและการพึ่งพาตนเอง การสนับสนุนสังคมชนบท และการปกป้องวัฒนธรรม กำลังโลกาภิวัตน์ทาง เทคนิคและเศรษฐกิจบีบได้ดำเนินการเปลี่ยนเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมอาหารต่อไป และดังนั้น เกษตรกรผู้ถือครองรายย่อยจึงได้รับความเสี่ยง ธรรมชาติดั้งเดิมและคุณค่ามนุษย์ลดลงอย่างมากในทุกพื้นที่ยกเว้นพื้นที่ยาก จน
                 ธุรกิจเกษตร ทั้งที่รัฐและเอกชนเป็นเจ้าของ ขยายตัวนับจากคริสต์ทศวรรษ 1960 และเกษตรกรยั่งยืนถูกบางส่วนมองว่าเป็นมรดกสืบทอดจากอดีตจากเดิมที่สามารถทำ ให้ทันสมัยเป็นธุรกิจเกษตรได้ อย่างไรก็ดี ระบบการผลิตผสมผสานเข้มข้นเกษตรยั่งยืนยังให้ประสิทธิภาพ ซึ่งอาจไม่ใช่ทางการเงิน แต่รวมถึงประโยชน์ทางสังคมซึ่งปัจจุบันทำให้เกษตรกรรมถูกปฏิบัติเป็นทั้งภาค สังคมและเศรษฐกิจในการวางแผน ด้วยความตระหนักถึงคุณค่าทางสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่เพิ่มขึ้น "เกษตรกรอาชีพ" คิดเป็น 19.5% ของเกษตรกรทั้งหมดใน พ.ศ. 2547[1]
              ด้านที่เป็นเอกลักษณ์ของเกษตรกรรมไทยมีเทคโนโลยีชลประทานซึ่งมีมากว่า สหัสวรรษ นอกจากนี้ ยังมีโครงสร้างบริหารจัดการซึ่งกำเนิดจากการควบคุมน้ำเพื่อการเกษตร ประเทศไทยเป็นผู้นำระดับโลกในการผลิตและส่งออกโภคภัณฑ์การเกษตรหลายชนิด และภาคธุรกิจเกษตรของไทยมีหนึ่งในบรรษัทข้ามชาติที่ใหญ่ที่สุดของโลกรวมอยู่ ด้วย ยังมีศักยะที่ผลิตภาพจะเพิ่มขึ้นอีกมากจากเทคโนโลยีที่มีอยู่ปัจจุบัน
              ประเทศไทยเป็นผู้นำโลกในการผลิตและส่งออกข้าว ยาง สับปะรดกระป๋อง และกุ้งกุลาดำ เป็นผู้นำภูมิภาคเอเชียในการส่งออกเนื้อไก่ และโภคภัณฑ์อื่นอีกหลายรายการ และเลี้ยงคนได้มากกว่าสี่เท่าของประชากรทั้งประเทศ ประเทศไทยยังแสวงหาการส่งออกปศุสัตว์เพิ่มขึ้นอีก

การประกอบอาชีพด้านการเกษตร

เกษตรกรรมในประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายด้าน คือ
  • การทำนา มีการทำทุกภาค แต่ภาคกลางมีการทำนามากที่สุด เนื่องจากมีพื้นที่ทำนามากที่สุดของประเทศ[2]
  • การทำสวนยางพารา พบมากในภาคใต้และจังหวัดจันทบุรี ตลอดจนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวไทย[3] นอกจากนี้ ยังมีการปลูกสวนปาล์มน้ำมันด้วยเช่นกัน
  • การทำสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลำไย ส้ม สับปะรด แตงโม กล้วย ขนุน มะม่วง ละมุด พุทรา องุ่น น้อยหน่า ลางสาด
  • การทำพืชไร่ เช่น ข้าวโพด อ้อย ปอ ฝ้าย นุ่น ละหุ่ง มะพร้าว มันสำปะหลัง ยาสูบ พริกไทย ตาล ถั่วต่าง ๆ
  • การเลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร โค กระบือ เป็ด ไก่ ห่าน ไหม ช้าง ม้า ลา ล่อ

เกษตรกรรม



เกษตรกรรม  (อังกฤษ: Agriculture)
                เป็นการเพาะปลูกพืช เห็ดรา เลี้ยงสัตว์ ตลอดจนอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิงชีวภาพ ยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์อื่นซึ่งใช้บำรุงและปรับปรุงชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรมเป็นพัฒนาการสำคัญในความเจริญของอารยธรรมมนุษย์ที่อยู่กับที่ ซึ่งการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์สปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่องทำให้มีอาหารส่วน เกินซึ่งช่วยพัฒนาการของอารยธรรม การศึกษาเกษตรกรรม เรียก เกษตรศาสตร์ ประวัติศาสตร์เกษตรกรรมย้อนไปหลายพันปี และภูมิอากาศ วัฒนธรรมและเทคโนโลยีที่ต่างกันมากขับเคลื่อนและนิยามพัฒนาการของเกษตรกรรม ทว่า เกษตรกรรมทั้งหมดโดยทั่วไปพึ่งพาเทคนิคการขยายและบำรุงที่ดินที่เหมาะสมต่อ การเลี้ยงสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่อง สำหรับพืช เทคนิคนี้มักอาศัยชลประทานบางรูปแบบ แม้จะมีวิธีการเกษตรกรรมในเขตแห้งแล้งอยู่ ก็ตาม การเลี้ยงปศุสัตว์เป็นการเลี้ยงในระบบทุ่งหญ้าและไม่เป็นเจ้าของที่ดินรวม กัน ครอบคลุมพื้นที่เกือบหนึ่งในสามของส่วนที่ปราศจากน้ำแข็งและน้ำของโลก ในโลกพัฒนาแล้ว กษตรอุตสาหกรรมที่ยึดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ได้กลายเป็นระบบเกษตรกรรม สมัยใหม่ที่พบมากที่สุด แต่มีแรงสนับสนุนเกษตรกรรมยั่งยืน รวมถึงเกษตรถาวรและเกษตรกรรมอินทรีย์มากขึ้น

ประเภทของเกษตรกรรม

เกษตรกรรมแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
  1. กสิกรรม หมายถึง การเพาะปลูกพืช เช่น การทำนา การทำสวน การทำไร่ เป็นต้น
  2. ปศุสัตว์ หมายถึง การประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์บนบก เช่น เลี้ยงวัว เลี้ยงหมู หรือเลี้ยงสัตว์จำพวกสัตว์ปีก เป็นต้น
  3. การประมง หมายถึง การประกอบอาชีพการเกษตรทางน้ำ เช่น การเลี้ยงสัตว์น้ำ การจับสัตว์น้ำ เป็นต้น
  4. การป่าไม้ หมายถึง การประกอบอาชีพเกี่ยวกับป่า เช่น การปลูกป่าไม้เศรษฐกิจ การนำผลผลิตจากป่ามาแปรรูปให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น

ประวัติศาสตร์ของเกษตรกรรม

จุดเริ่มต้นในสมัยโบราณ

             การทำเกษตรกรรมอย่างเป็นระบบปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ในดินแดนแถบ Fertile Crescent โดยเฉพาะในบริเวณที่เป็นประเทศซีเรียและตอนใต้ของอิรักในปัจจุบัน เมื่อช่วงประมาณ 9,500 ปีก่อนคริสตกาล คนในสมัยนั้นเริ่มมีการคัดเลือกพืชอาหารที่มีลักษณะตามความต้องการเพื่อนำไปเพาะปลูก
ประมาณ 7,000 ปีก่อนคริสตกาล ระบบเกษตรกรรมขนาดเล็กได้แพร่เข้าไปสู่อียิปต์ ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็เริ่มมีการเพาะปลูกข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ในอนุทวีปอินเดีย ซึ่งปรากฏหลักฐานในการขุดค้นแหล่งโบราณคดี Mehrgarh ในภูมิภาค Balochistan จนถึงเมื่อ 6,000 ปีก่อนคริสตกาล ในอียิปต์เริ่มมีการทำเกษตรกรรมขนาดกลางบนริมฝั่งแม่น้ำไนล์ และในช่วงเวลานี้ในภูมิภาคตะวันออกไกลก็มีการพัฒนาทางเกษตรกรรมในรูปแบบเฉพาะตน โดยจะเน้นเพาะปลูกข้าวเจ้าเป็นพืชผลหลักมากกว่าข้าวสาลี